วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551






สวัสดีค่ะพี่ๆ ....ป.บัณฑิตทุกคน....ยินดีต้อนรับทุกท่านค่ะ

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2551

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2551

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550


เมืองโบราณบ้านคูบัว อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ตำบลคูบัว จากหลักฐานการขุดค้นพบปรากฏว่า ราชบุรีเป็นเมืองในสมัยทวารวดี ซึ่งทาง กรมศิลปากรได้ขุดค้นและศึกษาเรื่องเมืองโบราณที่คูบัว ได้พบหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆ มากมาย เช่น เศียรพระพุทธรูปสมัยโบราณ ซึ่งหลักฐานต่างๆ เหล่านี้ได้ตั้งแสดงที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ราฃบุรี และมีบางส่วนเก็บรักษาไว้ที่วัดโขลง ตำบลคูบัว จากการศึกษาและค้นคว้าเมืองโบราณที่คูบัวนี้ ทำให้ทราบว่าได้รับอิทธิพลศิลปกรรมจากช่างสมัยราชวงศ์คุปตะ ประเทศอินเดีย และมีหลักฐานที่แสดงให้ทราบว่า พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองในประเทศไทยมากกว่า 1,000 ปี มาแล้ว

ศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าจก อยู่ในตำบลคูบัว เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะ ผ้าจกไท-ยวน เก็บตัวอย่างของผ้าจกที่มีลวดลายดั้งเดิม มีคอมพิวเตอร์สำหรับให้

จิตรกรรมฝาผนังที่วัดคงคาราม เป็นวัดของพวกมอญซึ่งได้สร้างขึ้นโดยพญามอญ มีอายุประมาณ 100 กว่าปี ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองตาคต อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 22 กิโลเมตร แต่เดิมได้ชื่อว่า วัดกลาง หรือ เภี้ยโต้ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นผู้พระราชทานนามวัดนี้ว่า วัดคงคาราม ภายในอุโบสถมีพระประธาน แกนในทำด้วยศิลาแลงและปิดทอง ฐานชุกชีทำเป็นบัวคว่ำ บัวหงาย จิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพละเอียดอ่อน ภาพที่ออกมาแต่ละภาพเหมือนถ่ายทอดจากต้นแบบที่มีชีวิตจริง ซึ่งได้เขียนขึ้นสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็นภาพพุทธประวัติตอนต่างๆ ที่หาชมยาก
ถ้ำค้างคาว เขาช่องพราน ตั้งอยู่ตำบลเตาปูน มีเขาช่องพรานตั้งอยู่เบื้องหลัง อยู่ห่างจากตัวอำเภอโพธารามไปทางทิศตะวันตกประมาณ 9 กิโลเมตร ถ้าจะมาจากตัวเมืองราชบุรีสามารถไปได้ โดยใช้เส้นทางเขางู-เบิกไพร ซึ่งห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 17 กิโลเมตร เขาช่องพรานมีถ้ำที่สวยงาม คือ ถ้ำพระนอน มีพระพุทธรูปภายในถ้ำมากกว่าร้อยองค์และภายในถ้ำมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่ มีความยาวถึง 9 เมตรเศษ สูง 1 เมตรเศษ มีพระพุทธบาทจำลอง นอกจากนั้นยังมีถ้ำค้างคาว ภายในถ้ำมีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ทุกวันในยามใกล้พลบค่ำ ตั้งแต่เวลา 17.30 น. เป็นต้นไป จะมีฝูงค้างคาวจำนวนมากบินออกจากถ้ำดูคล้ายกับควันที่ลอยออกมาจากปล่องไฟและจะบินกลับเข้าถ้ำในเวลาเช้า

หัตถกรรมพื้นบ้าน
นายพิเชียร เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งศูนหัตถกรรมท้องถิ่นพื้นบ้านแบบใหม่ของประเทศไทย ผลิตตุ๊กตาผ้าทุกประเภทออกจำหน่าย เป็นผู้ริเริ่มตุ๊กตาผ้าราชบุรี ปัจจุบันพิเชียรแก้วเป็นศูนย์วัสดุอุปกรณ์การผลิตตุ๊กตาผ้าทุกประเภท ศูนย์การผลิตตุ๊กตา ศูนย์กลางให้ความรู้ด้านการผลิต และเป็นศูนย์กลางด้านการตลาด รวมทั้งเป็นศูนย์รวมของหมู่บ้านตุ๊กตาของบ้านกำแพง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม
เกียรติคุณและรางวัล พ.ศ. ๒๕๓๕ นายพิเชียร ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ จากหนังสือพิมพ์เดลิมิลเลอร์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับรางวัล ผู้นำอาชีพก้าวหน้า ของกระทรวงมหาดไทย ปัจจุบันศูนย์พิเชียรแก้วมีระบบการผลิตและการจำหน่ายที่พัฒนาตลอดเวลาทำให้ตำบลบ้านสิงห์เป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ มีรายการโทรทัศน์หลายรายการมาถ่ายทำและนำแพร่ภาพออกอากาศไปทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานและบุคคลสำคัญมาเยี่ยมชมกิจการตลอดเวลา

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดราชบุรี

การทำระนาด
ประวัติ นายแก้ว อินทร์คำ อายุ 86 ปี ปัจจุบัน ข้าราชการบำนาญ , ทำระนาดขาย และเล่นดนตรีไทยหลายชนิดอดีต รับราชการกรมราชทัณฑ์ เล่นดนตรีไทยตั้งแต่สมัยหนุ่ม และสามารถทำเครื่องดนตรีไทยคือระนาด สามารถตั้งเครื่องดนตรีไทยได้หลายชนิด เมื่อเกษียณราชการ ก็รับสอนดนตรีไทยตามโรงเรียนต่าง ๆ ในจังหวัดราชบุรี รักการเล่นดนตรีไทยเป็นชีวิตจิตใจ ปัจจุบันยังเล่นดนตรีไทย ซ่อมและทำระนาดขายอยู่ ปัจจุบันอยู่อำเภอเมืองราชบุรีกับลูกหลาน และลูกศิษย์
การทำระนาด ส่วนประกอบสำคัญของระนาด คือ ลูกระนาด ซึ่งเป็นตัวกำเนิดเสียงสล่าเชียงใหม่นิยมใช้ไม้ชิงชัน หรือ "ไม้เกล็ด"ทำลูกระนาดทุ้ม เริ่มจากการเลื่อยไม้ออกให้ได้ขนาดตามที่ต้องการแล้วคว้านด้านล่างให้เป็นแอ่งไปตามยาว จากนั้นจึงแต่งให้ด้านบนนูนและเรียบ เจาะรู้ร้อยเชือกแขวน ตีฟังเสียงไป คว้านไปจนได้เสียงตามที่ต้องการ ระนาดรางหนึ่งๆจะมีลูกระนาด 21-22 ลูกส่วนระนาดทุ้มมี 18ลูกไม้ตีระนาดมีสองลักษณะ คือ ไม้แข็งหรือไม้นวม ไม้แข็ง ใช้ด้ายพนันุ้มหัวไม้ ส่วนไม้นวมนั้นมีผ้าหนาทำนวมหุ้มอีกชั้นรางระนาดนิยมทำด้วยไม้เนื้ออ่อนกว่าไม้ลูกระนาด เช่น ไม้กะบาก เป็นต้น เพื่อความสวยงาม สล่าจะแกะสลักลวดลายประดับด้วยราคาระนาดเอกและระนาดทุ้ม ในปัจจุปันนี้มีตั้งแต่ประมาณรางละ 2000บาทขึ้นไป

โครงการพระราชดำริ

การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทาน นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ในการช่วยให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี ในปัจจุบันพื้นที่การเพาะปลูกนอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอตามที่พืชต้องการ อีกทั้งความผันแปรเนื่องจากฝนตกไม่พอเหมาะกับความต้องการ เป็นผลให้ผลผลิตที่ได้รับไม่ดีเท่าที่ควร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทอื่น ทรงให้ความสำคัญในลักษณะ “น้ำคือชีวิต” ดังพระราชดำรัส ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๙ ความตอนหนึ่งว่า
“...หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ไม่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้...”

โครงการแก้มลิง
“...เมื่ออายุ ๕ ขวบ มีลิงเอากล้วยไปให้มันเคี้ยว เคี้ยว แล้วใส่ในแก้มลิง ตกลง “โครงการแก้มลิง” นี้มีที่เกิด เมื่อเราอายุ ๕ ขวบ ก็นี่เป็นเวลา ๖๓ ปี มาแล้ว ลิงสมัยโน้นลิงโบราณเขาก็มีแก้มลิงแล้ว เขาเคี้ยว แล้วเอาเข้าไปเก็บในแก้ม น้ำท่วมลงมา ถ้าไม่ทำ “โครงการแก้มลิง” เพื่อที่จะเอาน้ำนี้ไปเก็บไว้...” พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
โครงการแก้มลิงเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยการขุดลอกคลองชายฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นคลองพักน้ำขนาดใหญ่หรือ “แก้มลิง” แล้วระบายน้ำออกสู่ทะเลโดยใช้หลักทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก หรือน้ำขึ้นน้ำลงตามธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันโครงการแก้มลิงยังได้ขยายการดำเนินงานไปที่โครงการบรรเทาอุทกภัยตามพระราชดำริ (แก้มลิงหนองใหญ่) จังหวัดชุมพร และโครงการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอีกด้วย

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
“...เขื่อนป่าสัก ที่ตอนแรกวางแผนให้จุได้ ๑,๓๕๐ ล้านลูกบาศก์เมตร แต่แก้ไปแก้มาก็เหลือ ๗๕๐ ล้านกว่าๆ ตามตัวเลขที่ให้ไว้นี้ แม้เขื่อนป่าสักเขื่อนเดียว ก็พอ พอสำหรับการบริโภคแน่นอนไม่แห้ง...”
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สร้างขึ้นเพื่อให้มีน้ำไว้ใช้ในการเกษตรในฤดูแล้ง และเป็นการป้องกันบรรเทาน้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างในฤดูน้ำหลากและบรรเทาปัญหาน้ำเน่าเสียในกรุงเทพมหานคร และเมืองใหญ่ในภาคกลาง อีกทั้งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งด้วย

โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก
“โครงการนี้คือสร้างอ่างเก็บน้ำ ๒ แห่ง แห่งหนึ่งคือที่แม่น้ำป่าสัก อีกแห่งหนึ่งที่แม่น้ำนครนายก สองแห่งรวมกันจะเก็บกักน้ำเหมาะสมพอเพียง สำหรับการบริโภค การใช้ในเขตกรุงเทพฯ และเขตใกล้เคียงที่ราบลุ่มของประเทศไทยนี้...”
“โครงการนี้เป็นโครงการที่อยู่ในวิสัยที่จะทำได้แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่ใช่น้อย แต่ถ้าดำเนินการไปเดี๋ยวนี้อีก ๕-๖ ข้างหน้า เราสบายและถ้าไม่ทำอีก ๕-๖ ปีข้างหน้า ราคาค่าก่อสร้าง ค่าดำเนินการก็จะสูงขึ้น ๒ เท่า ๓ เท่า ลงท้ายก็จะประวิงต่อไป และเมื่อประวิงต่อไป ก็จะไม่ได้ทำ เราก็จะต้องอดน้ำแน่จะกลายเป็นทะเลทรายแล้วก็จะอพยพไปที่ไหนก็ไม่ได้...”
โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นการช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนจากอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำนครนายก ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำ รวมทั้งเพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีน้ำใช้ในการเกษตร การอุปโภคบริโภคโดยไม่ขาดแคลน ที่สำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการเพาะปลูกอีกด้วย

ด้านการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรดิน

ในช่วยระยะเวลาเกือบ ๓๐ ปีที่ผ่านมา การเพิ่มผลผลิตและรายได้ของประเทศมาจากการขยายพื้นที่การเพาะปลูกมากกว่าการเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่จนถึงขณะนี้ประมาณได้ว่าพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเกษตรกรรมได้ใช้ไปจนเกือบหมด และพยายามหาพื้นที่ชดเชยด้วยการอพยพโยกย้ายเข้าไปอยู่กระจัดกระจายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายเพิ่มจำนวนมากขึ้น เพราะการใช้ที่ดินกันอย่างขาดความระมัดระวังและไม่มีการบำรุงรักษาซึ่งทำให้เกิดความเสื่อมโทรม ปัญหาเหล่านี้หากไม่รีบแก้ไขย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก
สำหรับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปรับปรุงทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมให้ได้ใช้ประโยชน์ ดังเช่น โครงการแกล้งดิน ที่ได้ดำเนินการในศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส ได้พระราชทานแนวพระราชดำรัสไว้ดังนี้
“..ให้มีการทดลองทำดินให้เปรี้ยวจัด โดยการระบายน้ำให้แห้งและศึกษาวิธีแก้ดินเปรี้ยว เพื่อนำผลไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยวให้แก่ราษฎรที่มีปัญหาในเรื่องนี้ในเขตจังหวัดนราธิวาส โดยให้ทำโครงการศึกษาทดลองในกำหนด ๒ ปี และพืชทำการทดลองควรเป็นข้าว...”
“...ที่ที่น้ำท่วมที่หาประโยชน์ไม่ได้ ถ้าเราจะทำให้มันโผล่พ้นน้ำขึ้นมา มีการระบายน้ำออกไปก็จะเกิดประโยชน์พ้นน้ำขึ้นมา มีการระบายน้ำออกไปก็จะเกิดประโยชน์กับประชาชนในเรื่องการทำมาหากินอย่างมหาศาล...”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาในเรื่องดินทั้งในแง่ของการแก้ไขปัญหาดินที่เสื่อมโทรม ขาดคุณภาพและการขาดแคลนที่ดินทำกินสำหรับการเกษตร ดังนี้
๑.๑ สนับสนุนให้เกษตรกรเรียนรู้เข้าใจวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดินและสามารถนำไปปฏิบัติได้เอง ดังพระราชดำรัสความว่า
“...การปรับปรุงที่ดินนั้น ต้องอนุรักษ์ผิวดินซึ่งมีความสมบูรณ์ไว้ไม่ให้ไถหรือลอกหน้าดินทิ้งไปสงวนไม้ยืนต้นที่ยังเหลืออยู่เพื่อที่จะรักษาความชุ่มชื้นของผืนดิน...”
ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นเพื่อทำการศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับการสร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นตัวอย่างในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน การขยายพันธุ์พืชเพื่ออนุรักษ์ดินและบำรุงดิน รวมถึงศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาและพัฒนาพื้นที่พรุ ซึ่งเป็นดินเปรี้ยวให้เป็นดินที่มีคุณภาพ สามารถทำการเพาะปลูกได้ ตลอดจนการทำแปลงสาธิตการพัฒนาที่ดินแก่เกษตรกร ในบางพื้นที่ที่มีปัญหาในการพัฒนาปรับปรุงดินเสื่อมโทรมด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินทราย ดินดาน ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อให้พื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องดินทั้งหลาย สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้
นอกจากนั้นเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๔ ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝกเป็นครั้งแรกกับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. ในขณะนั้นว่า ให้ทำการศึกษาทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และอนุรักษ์ความชุ่มชื้นไว้ในดิน เพราะขั้นตอนการดำเนินงานเป็นวิธีการแบบง่าย ๆ ประหยัด และที่สำคัญคือเกษตรกรสามารถดำเนินการเองได้ โดยไม่ต้องให้การดูแลภายหลังการปลูกมากนัก และได้พระราชทานพระราชดำริอีกกว่า ๒๐ ครั้ง เกี่ยวกับการนำหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ ดังเช่น เมื่อวัน ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีส่วนเกี่ยวข้องกับหญ้าแฝกตอนหนึ่งว่า
“...ปลูกหญ้าแฝกจะต้องปลูกให้ชิดติดกันเป็นแผงและวางแนวให้เหมาะสมกับลักษณะภูมิประเทศเป็นต้นว่าบนพื้นที่สูงจะต้องปลูกตามแนวขวางของความลาดชันของร่องน้ำ บนพื้นที่ราบจะต้องปลูกรอบแปลงหรือปลูกตามร่องสลับกับพืชไร่ ในพื้นที่เก็บกักน้ำจะต้องปลูกเป็นแนวเหนือแหล่งน้ำ หญ้าแฝกมีหลักวิธีดังนี้ จะช่วยการป้องกันการพังทลายของหน้าดิน รักษาความชุ่มชื้นในดิน เก็บกักตะกอนดินและสารพิษต่าง ๆ ไม่ให้ไหลลงในน้ำ ซึ่งจะอำนวยผลประโยชน์อย่างยิ่งแก่การอนุรักษ์ดินและน้ำ ตลอดจนการฟื้นฟูดินและป่าไม้ให้สมบูรณ์ขึ้น...”
การดำเนินโครงการต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ ทรงเน้นอยู่เสมอว่ากระบวนการพัฒนาที่ดินทั้งหมดนี้จะต้องชี้แจงให้ราษฎรซึ่งเป็นผู้ได้รับประโยชน์มีส่วนร่วมและลงมือลงแรงด้วย
๑.๒ การจัดสรรและปฏิรูปที่ดิน พัฒนาที่ดินว่างเปล่าแล้วจัดสรรให้เก่เกษตรกรที่ไร้ที่ทำกินได้ประกอบอาชีพในรูปของหมู่บ้านสหกรณ์ทั้งนี้โดยให้สิทธิทำกินแต่ไม่ให้กรรมสิทธิ์ในการถือครอง พร้อมกับจัดบริการพื้นฐานให้ตามความเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการจัดพื้นที่ทำกินให้ราษฎรชาวไทยภูเขาให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้เป็นหลักแหล่งโดยไม่ต้องทำลายป่าอีกต่อไปี้
ในการจัดพื้นที่ต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีหลักการว่า ต้องวางแผนการจัดให้ดีเสียตั้งแต่ต้น โดยใช้แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศช่วยการจัดสรรพื้นที่ทำกินควรจัดสรรตามแนวพื้นที่รับน้ำจากโครงการชลประทานเป็นหลักปัญหาการขาดแคชนที่ดินทำกินของเกษตรกรเป็นปัญหาสำคัญยิ่งในปัจจุบัน ด้วยพระอัจฉริยะในการแก้ปัญหาจึงได้พระราชทานแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับการทำการเกษตร “ทฤษฎีใหม่” ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า
“...ทฤษฎีใหม่...เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะทำให้ประชาชนมีกินแบบตามอัตภาพ คืออาจไม่รวยมากแต่ก็พอกินไม่อดอยาก...” เป็นการพัฒนาพื้นที่ทำกินที่มีขนาดเล็ก ด้วยการจัดสรรที่ดินให้เหมาะสมกับการทำการเกษตรแบบผสมผสานอย่างได้ผล ทฤษฎีใหม่ เป็นการบริหารจัดการที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อพัฒนาการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสามารถเลี้ยงตัวเองได้ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ ส่วนคือ - ร้อยละ ๓๐ ที่หนึ่งสำหรับปลูกข้าว - ร้อยละ ๓๐ ที่สองสำหรับปลูกพืชไร่ พืชสวน - ร้อยละ ๓๐ ที่สามสำหรับขุดสระน้ำไว้ใช้ในการเกษตร รวมถึงเลี้ยงปลาไว้บริโภค - ร้อยละ ๑๐ สุดท้ายเป็นที่อยู่อาศัย พร้อมกับปลูกพืชสวนครัวในลักษณะแบบครบวงจร ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีกินตลอดทั้งปี

ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้

ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่อำนวยประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้แก่มนุษยชาติ ควบคุมสภาพดินฟ้าอากาศให้อยู่ในสภาพปกติ รักษาต้นน้ำลำธาร พรรณพฤกษชาติและสัตว์ป่า อีกทั้งยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจป่าไม้เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์ได้บริโภคใช้สอย ประกอบอาชีพด้านการทำป่าไม้ เก็บของป่าการอุตสาหกรรม การผลิตไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ใช้วัตถุดิบจากไม้และของป่า แต่สภาพปัจจุบันประชากรไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเป็นแรงผลักดันให้เกิดการบุกรุกทำลายป่าไม้ เพื่อบุกเบิกพื้นที่ทำกิน ลักลอบตัดไม้ป้อนโรงงานอุตสาหกรรมและเผาถ่าน อีกทั้งมีการก่อสร้างถนน สร้างเขื่อนทำให้มีการตัดไม้โดยไม่คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ป่าไม้จึงมีเนื้อที่ลดลงตามลำดับ และบางแห่งอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมเป็นอย่างมาก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นความสำคัญของป่าไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดปัญหาฝนแล้ง น้ำท่วม ดังที่ประเทศไทยประสบอยู่ในขณะนี้ สาเหตุสำคัญมาจากการทำลายป่า ด้วยเหตุนี้จึงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาป่าไม้ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ดังเดิม ก่อให้เกิดโครงการพัฒนาและบำรุงป่าไม้จำนวนมากมายทั่วประเทศ โดยเฉพาะป่าไม้ที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารให้คงสภาพอยู่เช่นเดิม เพื่อป้องกันอุทกภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันช่วยถนอมน้ำไว้สำหรับหล่อเลี้ยงแม่น้ำลำธารด้วย สำหรับวิธีการปลูกป่าอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีหลายวิธี ดังเช่น
การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ที่ได้ดำเนินการในโครงการพัฒนาพื้นที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดราชบุรี เป็นแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการฟื้นฟูสภาพป่าด้วยวัฏจักรธรรมชาติ โดยมีวิธีการที่เรียบง่ายและประหยัดในการดำเนินงาน ตลอดจนส่งเสริมระบบวงจรป่าไม้ในลักษณะธรรมชาติดั้งเดิม ซึ่งมี ๓ วิธีคือ
“...ถ้าเลือกได้ที่ที่เหมาะสมแล้ว ก็ทิ้งป่านั้นไว้ตรงนั้นไม่ต้องไปทำอะไรเลย ป่าจะเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นป่าสมบูรณ์โดยไม่ต้องไปปลูกเลยสักต้นเดียว...”
“...ไม่ไปรังแกป่าหรือตอแยต้นไม้ เพียงแต่คุ้มครองให้ขึ้นเองได้เท่านั้น...”
“...ในสภาพป่าเต็งรัง ป่าเสื่อมโทรมไม่ต้องทำอะไรเพราะตอไม้ก็จะแตกกิ่งออกมาอีก ถึงแม้ต้นไม้ไม่สวยแต่ก็เป็นต้นไม้ใหญ่ได้...” ป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง ที่ได้ดำเนินการในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี และศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่
“...เดี๋ยวนี้ทุกคนก็คงเข้าใจแล้วว่าป่า ๓ อย่างนั้นคืออะไร แต่ก็ให้เข้าใจว่าป่า ๓ อย่างนี้มีประโยชน์ ๔ อย่าง ประโยชน์ที่ ๔ นี้สำคัญคือ รักษาอนุรักษ์ดินเป็นต้นน้ำลำธาร...”
การปลูกป่า ๓ อย่าง คือ ป่าสำหรับไม้ใช้สอยป่าสำหรับเป็นไม้ผล และป่าสำหรับเป็นเชื้อเพลิงซึ่งราษฎรสามารถใช้ประโยชน์จากป่าได้อย่างเกื้อกูล นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์อย่างที่ ๔ อันเป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำอีกด้วย
ป่าชายเลน เป็นแนวพระราชดำริในการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศน์ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลและอ่าวไทยซึ่งถูกบุกรุกทำลาย โดยการปลูกป่าไม้ชายเลน โดยอาศัยระบบน้ำขึ้นน้ำลงในการเติบโต อันเป็นแนวป้องกันลมและป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่สำคัญและเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำซึ่งเป็นการช่วยสร้างความสมดุลให้แก่ธรรมชาติให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม